วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

10 อันดับ ถนนที่สวยจนน่าตกใจ ว่ากันว่า ต้องไปให้ได้ "ก่อนตาย"!

10 อันดับ ถนนที่สวยจนน่าตกใจ ว่ากันว่า ต้องไปให้ได้ "ก่อนตาย"!



หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบ ขับรถ กินลม ชมวิว ไม่ว่าจะเป็น ถนนเลียบชายฝั่ง ถนนที่ตัดผ่านหุบเขา สำนักข่าวต่างประเทศได้รวบรวม 10 อันดับ ถนนเส้นที่เหมาะกับการขับรถชมวิวมากที่สุดในโลก และว่ากันว่า เป็น 10 อันดับถนน ที่ต้องไปเยือนให้ได้ ก่อนตาย

อันดับ 1

"ถนนทางหลวงหมายเลข 1 บิ๊กเซอร์, แคลิฟอร์เนีย"

ภาพจาก focus.tracinglight.com

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปะการังกับภาวะโลกร้อน


 ปะการังกับภาวะโลกร้อน (Corals and Global Warming)
ปะการัง (coral) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่รวมกลุ่มกันเป็นโคโลน (colony) ในแต่ละโคโลนีนั้นจะมีตัวของปะการังที่เรียกว่า โพลิป (polyp) ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ลักษณะของแต่ละโพลิปในกลุ่มของปะการังแข็ง (hard coral) เหล่านี้ จะมีหนวด (tentacle) จำนวน 6 เส้นหรือเป็นทวีคูณของหก หนวดเหล่านี้มีหน้าที่หลักในการจับแพลงก์ตอน เป็นอาหาร
        โดยทั่วไป ปะการังมีสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลล์เดียวอาศัย อยู่ร่วมกันภายในเนื้อเยื่อของปะการัง สาหร่ายซูแซนเทลลีให้พลังงานที่เป็นผลจากการสังเคราะห์แสงแก่ปะการังที่ใช้เป็นที่อาศัย อีกทั้งให้สีสันที่หลากหลายกับปะการังด้วย ดังนั้นหากปะการังเหล่านี้ไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีแล้วปะการังจะได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และปะการังก็จะมีแต่สีขาว ซึ่งเป็นสีของโครงร่างหินปูนที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเท่านั้น สีสันของโลกใต้น้ำบริเวณแนว ปะการังก็คงไม่งดงามเหมือนที่เห็นเช่นปัจจุบัน

          ปะการังฟอกขาว 
          ปะการังเปรียบเสมือนบ้านของสาหร่ายซูแซนเทลลี ดังนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมภายนอก ของบ้านหรือปัจจัยทางกายภาพของสภาพแวดล้อมที่ปะการังอาศัยอยู่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนไม่ เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เช่น การที่อุณหภูมิของน้ำหรือระดับความเค็มของน้ำสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าสภาวะปกติ ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลีไม่สามารถอาศัยอยู่ใน ปะการังได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องออกมาจากเนื้อเยื่อของปะการังเข้าสู่มวลน้ำเพื่อหาบ้านใหม่ที่ให้ตนเองสามารถเข้าไปอาศัยและดำรงชีวิตต่อไปได้ ปะการังที่ปราศจากสาหร่ายเหล่านี้ก็ไม่มีโอกาสได้รับพลังงานเสริมที่เพียงพอในการดำรงชีวิต หากสถานการณ์ดำรงเช่นนี้ต่อไป ปะการังก็จะตายในที่สุดเมื่อสาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งเป็นสีสันของปะการัง ออกจากตัวปะการังไปแล้วปะการังก็จะกลับคืนมาเป็นสีขาว ซึ่งคือสีของปะการังเอง ดังนั้นปรากฏการณ์ที่ทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกจากปะการัง จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) ทั้งนี้ ปะการังที่เกิดการฟอกขาวก็สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้หากสาหร่ายซูแซนเทลลีเหล่านั้นกลับเข้าสู่ตัวปะการังอีก ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม หากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นวงกว้างและระยะ วลายาวต่อเนื่อง การฟื้นตัวของปะการังโดยธรรมชาติมีโอกาสเป็นไปได้ต่ำ หรือไม่มีเลย โดยทั่วไปปะการังแข็งสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากสาหร่ายซูแซนเทลลีได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น หากสาหร่าย ซูแซนเทลลีไม่กลับเข้าสู่ปะการังในช่วงเวลาดังกล่าว ปะการังเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด
         
ปรากฏการณ์ปะการังสีทอง
     ปรากฏการณ์ปะการังสีทอง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2549 และกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ณ ชายฝั่งทะเล ค่ายเจษฎามหาราชเจ้า ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จัดเป็นปรากฏการณ์หนึ่งของการเกิดปะการังฟอกขาว โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีน้ำลงสูงสุดในตอนกลางวัน ทำให้พื้นที่ตื้นชายฝั่งได้รับอิทธิพลจากแสงแดดเต็มที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น อย่างชัดเจน ประกอบกับอิทธิพลของปรากฏการณ์ ลาณีญ่าที่เกิดฝนตกหนักเป็นบางช่วงอย่างต่อเนื่อง น้ำฝนนั้นทำให้ระดับความเค็มของน้ำทะเลลดต่ำลง นอกจากนั้น การชะล้างตะกอนหรือของเสียจากฝั่ง โดยฝนที่ตกลงมาและการระบายน้ำใช้สู่ท่อระบายน้ำที่ ปล่อยลงในบริเวณใกล้เคียง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ทำให้เกิดสภาวะที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ดังกล่าว
       บริเวณชายฝั่งค่ายเจษฎามหาราชเจ้า มีปะการังอ่อน (soft coral) ชนิดหนึ่งเรียกว่า ปะการังอ่อนดอกเห็ด หรือปะการังอ่อนทองหยิบ หรือ Sarcophyton จำนวนมากอาศัยอยู่ ซึ่งปะการังอ่อน Sarcophyton นี้ สามารถพบกระจายทั่วไป ปะการังอ่อนแตกต่างกับ ปะการังแข็งตรงที่ปะการังอ่อนจะไม่มีการสร้างโครง ร่างหินปูนที่เป็นโครงสร้างแข็งขึ้นห่อหุ้มตัวภายนอก หากแต่ฝังโครงร่างแข็งนี้ภายในเนื้อเยื่อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และมีหนวดที่ใช้ในการจับอาหาร 8 เส้น หรือทวีคูณของแปด ทั้งนี้ปะการังอ่อนยังแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีและไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีร่วมอาศัยด้วย โดยปะการังอ่อน Sarcophyton จัดอยู่ในกลุ่มที่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี ดังนั้น เมื่อปัจจัยแวดล้อมภายนอกไม่ปกติ สาหร่ายซูแซนเทลลีนี้จึงออกจากตัวปะการังอ่อนไป ทำให้สีเนื้อเยื่อของโคโลนีปะการังอ่อนปรากฏขึ้น สีที่พบเห็นทั่วไปมีทั้งสีน้ำตาล เขียว เหลือง จนถึงครีม ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลลดต่ำลง ผิวน้ำทะเลสะท้อนแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ ประกายสีเหลืองทองอร่ามของปะการัง Sarcophyton ที่เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวจึงเด่นชัดมากขึ้น โดยปกติ ปะการังอ่อน สามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากสาหร่ายซูแซนเทลลีได้ 2-3 เดือน หรืออาจถึง 6 เดือน ซึ่งนานกว่าปะการังแข็ง มาก เนื่องจากปะการังอ่อนนี้สามารถปรับตัวโดยการ แบ่งหรือแยกตัวออกให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดการใช้ พลังงานส่วนหนึ่งส่วนใดสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ยาวนานที่สุด

       ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อปะการัง
       ภาวะโลกร้อน (global warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจาก ปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะ ปัจจัยที่เกิดจาก ภาวะ เรือนกระจก (green house effect) ตั้งแต่ศตวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ได้หันไปพึ่งพาการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ได้มาจากฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานในกระบวนการการเผาผลาญ เชื้อเพลิงดังกล่าวมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจำนวนมาก ก๊าซนี้เมื่อถูกปล่อยออกไปแล้วจะถูกสะสม อยู่ที่ชั้นบรรยากาศ และคอยกันความร้อนต่าง ๆ ที่ถูกปล่อยออกจากพื้นผิวโลกไม่ให้ความร้อนสามารถ ระบายออกสู่นอกชั้นบรรยากาศได้ จึงเรียกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจก และเรียกภาวะที่เกิดขึ้นว่าภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นตามมา
       จากการวิจัยมีการคาดการณ์ว่า ผลของภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่องนี้สามารถส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 90 เซนติเมตรในหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ระดับที่เพิ่มขึ้นของน้ำทะเลนี้ ทำให้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ได้รับผลกระทบทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพหลายประการ การเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวก็เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน การที่ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำ ดังนี้ อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นเพียง 2-3 องศาเซลเซียส สามารถส่งผลต่อการตายของปะการังได้ นอกจากนั้นยังมีผลต่อการสะสมหินปูนของปะการังลดลงเนื่องจากในสภาวะปกติ ทะเลสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้ประมาณหนึ่งในสามของปริมาณทั้งหมดที่สะสม เมื่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยน้ำทะเลจึงเพิ่มมากขึ้นตามสัดส่วน และส่งผลต่อการลดลงของสารคาร์บอเนตไอออนที่เป็นส่วน ประกอบสำคัญในการ สร้างโครงร่างหินปูนของปะการัง รวมถึงสัตว์ทะเลอีกหลายชนิด  อีกประการหนึ่ง การที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้แนวปะการังอยู่ในระดับน้ำทะเลที่ลึกมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณแสงอาทิตย์ส่องลงไปถึงปะการังได้น้อยลง และทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีซึ่งใช้แสงในการสังเคราะห์แสง ได้รับแสงลดน้อยลง เมื่อใดก็ตาม ที่ไม่มีแสงหรือมีแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีดำรง ชีวิตอยู่ได้ ปะการังที่พึ่งพาอาศัยสาหร่ายซูแซนเทลลีก็ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่อาศัยแนวปะการังนั้น ๆ ในการดำรงชีวิต
       นอกจากนี้ ภาวะโลกร้อนสามารถส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำทะเล (ocean circulation) ลดลง หรือหยุด ปกติน้ำทะเลจะไม่เกิดเป็นชั้นน้ำที่อุ่น หรือเย็นแบ่งแยกกันถ้าน้ำบริเวณนั้นมีการหมุนเวียน แต่เมื่อใดก็ตามที่การหมุนเวียนของน้ำหยุด จะทำให้น้ำแบ่งชั้น สัตว์ที่อยู่บริเวณนั้น เช่นปะการังก็จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากสภาพน้ำบริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่สูง หรือต่ำเกินไปคงอยู่เป็นเวลานาน

อนาคตของปะการังเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
          ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏอยู่บนโลกมานานกว่า 200 ล้านปี ปัจจุบันแนว ปะการังได้ลดลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต  สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปะการังถูกทำลายและลดจำนวนลงอย่างมาก เนื่องมาจากกิจกรรมที่เป็นผลจากการกระทำ ของมนุษย์ เช่น การทำประมงที่มากเกินไป การท่องเที่ยว เป็นต้นนอกจากนั้นภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าร้อยละ 70 ของปะการังจะตายภายใน 40 ปีข้างหน้า หากพวกเรา ไม่ช่วยกันป้องกันหรืออนุรักษ์ปะการัง การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและผลกระทบที่ตามมาก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่สามารถสร้างความเข้าใจให้ประชาชนร่วมกันปกป้องรักษาปะการังได้ ผลกระทบที่ตามมาเหล่านี้ สุดท้ายอาจสะท้อนกลับมาสู่มนุษย์เราผู้เริ่มต้นของ ปัญหาต่าง ๆ นั่นเอง  เมื่อปะการังได้รับผลกระทบ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ หลากหลายที่อาศัยแนวปะการังเป็น ที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งหาอาหาร หรือเป็นแหล่งหลบภัย ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมทั้งสัตว์เศรษฐกิจอีกมากมายที่มนุษย์เราใช้ประโยชน์ ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง ก็จะลดน้อยลง อีกทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย ก็จะสูญหายไปด้วย หากมนุษย์เราไม่คำนึงกันตั้งแต่บัดนี้ วันที่เราไม่อยากเห็นก็อาจปรากฏได้เร็วมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

http://www.rspg.or.th/tis_museum/semi_articles/semi_articles_19/semi_article_19.htm




สุดยอดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยที่สุดในโลก


สุดยอดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยที่สุดในโลก

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ : ดอกไม้น้ำแข็ง

free unlimited image hosting service

Ice Flowers 
เป็นอีก ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สร้างความตกตลึงให้แก่ผู้พบเห็น เนื่องจากมันจะเกิดขึ้นบนทะเลที่กลายเป็นน้ำแข็ง และเกิดมีเกร็ดน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นมาเป็น ช่อดอกไม้สีขาง กลีบบางผุดขึ้นมาเต็มพื้นน้ำแข็ง

ความหมายของธรรมชาติ


ธรรมชาติ

ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักวาล
ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห์
 

Sample text

Sample Text